โครงการ Chevron Enjoy Science
สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต ระยะที่ 2

พัฒนาสะเต็มศึกษา
อย่างต่อเนื่อง

โครงการ“รัฐร่วมเอกชน”ที่มุ่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและนวัตกรรมของประเทศด้วยการพัฒนาการศึกษาในสาขาสะเต็ม (STEM) โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 8 ปี ใช้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า 1,160 ล้านบาท

โครงการ Chevron Enjoy Science
สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต

แบ่งการดำเนินงานเป็นสองระยะ

ระยะที่ 1
เมษายน
2558
มีนาคม
2563
ระยะที่ 2
เมษายน
2563
มีนาคม
2565

โครงการในระยะที่ 2 บริหารงานโดยศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Organization Regional Centre for STEM Education : SEAMEO STEM-ED) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างรัฐบาลส่วนภูมิภาคภายใต้ความเห็นชอบของกระทรวงศึกษาธิการแห่งประเทศไทย ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด

จุดประสงค์

  1. ยกระดับและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้านสะเต็มศึกษาทั้งในระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยของประเทศไทย
  2. สร้างเสริมศักยภาพในระบบการศึกษาโดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลและภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด
  3. สร้างวัฒนธรรมและเครือข่ายการปรับปรุงคุณภาพสถานศึกษาที่เข้มแข็ง
  4. พัฒนาโครงการ STEM Career Academies แนะแนวทางศึกษาต่อและเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ รวมถึงพัฒนาทักษะให้กับแรงงานเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมด้านสะเต็มอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ส่งเสริมนโยบายและแนวปฏิบัติที่สนับสนุนด้วยงานวิจัย เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผู้เรียนในระดับสูงอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาและสนับสนุนงานวิชาการโดยเน้นการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

ตั้งเป้าหมายการดำเนินงานสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและมุ่งขยายขอบเขตการทำกิจกรรมส่งเสริมสะเต็มศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ขอบเขตการดำเนินงาน

โครงการฯระยะที่สองดำเนินการโดยเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาล ดังนี้

1

พัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้านสะเต็มทั้งในและนอกห้องเรียน

โดยเน้นพัฒนาครูผู้นำและพี่เลี้ยงทางวิชาการ เพื่อแนะแนวทางการสอนให้กับครู โดยมีเป้าหมายสร้างกำลังคนที่มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

2

เพิ่มแหล่งเรียนรู้ด้านสะเต็มศึกษาให้กับระบบการศึกษาไทย

โดยเน้นพัฒนาสื่อการเรียนรู้คุณภาพเพื่อสร้างทักษะด้านสะเต็มให้กับผู้เรียนทั้งในด้านการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาและการบูรณาการ เผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อความสะดวกในการเข้าถึง

3

เสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) และยกระดับคุณภาพวิชาการโรงเรียน (TSIP)

โดยดำเนินการร่วมกับคุรุสภาอย่างใกล้ชิด เพื่อขยายเครือข่าย PLC และ ยกระดับคุณภาพวิชาการโรงเรียน สร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายบุคคลากรทางการศึกษา เสริมภาวะผู้นำทางวิชาการ และสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมการยกระดับคุณภาพในสถานศึกษา

4

ริเริ่มโครงการนำร่อง STEM Career Academies

เพื่อเตรียมความพร้อมเยาวชนเข้าสู่มหาวิทยาลัยและเส้นทางอาชีพด้านสะเต็ม โดยสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชนในโรงเรียนมัธยมและสถาบันทางการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านวิชาการ อาชีพ และประสบการณ์ในการทำงาน โดยดำเนินการเป็นโครงการนำร่องนำเสนอให้กับผู้กำหนดนโยบาย เพื่อนำไปขยายผลต่อในระดับประเทศ และภูมิภาค

5

สร้างความตระหนักรู้ด้านสะเต็มและเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการรับรู้ด้านสะเต็ม

โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขยายขอบเขตการเรียนรู้สะเต็มนอกห้องเรียน ร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญในระดับนานาชาติในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และจัดการเรียนรู้ด้านสะเต็มให้กับหน่วยงานภาคีภาครัฐ

6

ส่งเสริมด้านงานวิจัยและนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปทางการศึกษา

โดยวางแผนพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยไทย ผลิตงานวิจัยที่ได้มาตรฐานระดับสากล รวมทั้งศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของโครงการฯ ตลอดจนส่งเสริมนโยบายทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และแนวปฏิบัติที่สำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษาไทย ทั้งนี้ผลการวิจัยจะนำเสนอในเวทีการประชุมระดับประเทศ และระดับภูมิภาค

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ได้รับผลประโยชน์

ผู้กำหนดนโยบาย

1. คุรุสภา
2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
3. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.)
4. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)
5. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
6. สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
7. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในระดับภูมิภาค

สถาบันและสมาคมพัฒนาทักษะอาชีพ

1. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
2. ผู้ว่าจ้างจากภาคอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการ

หน่วยงานและสถาบันพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา

1. สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.)
2. มหาวิทยาลัยมหิดล
3. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
4. คณะครุศาสตร์หรือคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยและในระดับภูมิภาค
5. ผู้เชี่ยวชาญด้านสะเต็มศึกษาจากในและต่างประเทศ

หน่วยงานสร้างความตระหนักรู้

1. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
2. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
3. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)

ผู้ได้รับประโยชน์

1. นักเรียน
2. บุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และ ศึกษานิเทศก์
3. ผู้กำหนดนโยบาย
4. นักวิจัยทางการศึกษา
5. กำลังคนกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯที่ได้รับการพัฒนาทักษะ

ความยั่งยืนของโครงการ

โครงการฯ มุ่งสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งในการพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อผลลัพท์ที่ยั่งยืน พร้อมทั้งสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อยกระดับสะเต็มศึกษา โดยอ้างอิงจากงานวิจัย และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐในระดับภูมิภาค ทั้งนี้งานวิจัยด้านผลกระทบของโครงการฯ ศูนย์ SEAMEO-STEM ED จะนำไปเผยแพร่และนำเสนอให้กับผู้กำหนดนโยบายของประเทศและขยายผลไปยังระดับภูมิภาค เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืนต่อไป