Professional Learning Community (PLC)

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC เกิดขึ้นครั้งแรกในโลกช่วงปลาย พ.ศ. 2533 โดยหน่วยงานภาคเอกชนด้านการศึกษาของสหรัฐอเมริกา

นักวิชาการด้านการศึกษาปรับแนวคิดมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ในการบริหารองค์กร ที่เชื่อว่าการทำงานเป็นทีมและการทำงานร่วมกันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ที่ดีขึ้น โดยมองว่า วัฒนธรรมการเรียนรู้ของชุมชนวิชาชีพครูจะมีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนรู้ของครูและสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้นให้แก่นักเรียน เพราะจะช่วยกระตุ้นครูให้เกิดการติดตามว่านักเรียนมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างไร เกิดการประเมินผลและแบ่งปันองค์ความรู้ระหว่างครูด้วยกันอย่างต่อเนื่อง  

โครงการเชฟรอนสนุกวิทย์ฯ ในระยะที่ 2 ใช้แนวทางการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นกระบวนการสำคัญในการยกระดับคุณภาพวิชาการโรงเรียน (TSIP) โดยดำเนินการดังนี้

,,
1

จัดการเรียนรู้เทคนิควิธีการจัด PLC ที่มีประสิทธิภาพให้กับครูผ่านระบบออนไลน์ TrianFlix

สื่อการสอน
ครู
นักเรียน

คำนึงถึง 3 องค์ประกอบหลัก คือ สื่อการสอน ครู และนักเรียน พร้อมทั้งนำกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หรือ Inquiry-Based Learning มาปรับกระบวนการสอน สร้างการมีส่วนร่วม เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ วิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาแนวทางการสอนในชั้นเรียน

2

สร้างเครือข่าย PLC โดยเน้นไปที่การเปิดชั้นเรียน หรือ Open Classroom approach

เพื่อให้ครูร่วมกันอภิปรายถึงผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่สังเกตเห็นในชั้นเรียน ตั้งเป้าหมายในการปรับปรุงและ วางแผนบทเรียนร่วมกัน และเยี่ยมชมห้องเรียนของกันและกัน เพื่อนำไปปรับปรุงบทเรียน และกระบวนการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นไปที่ขั้นตอนสำคัญ 5 ขั้นตอน

การดำเนินงาน

1

Study

การศึกษาหลักสูตร เนื้อหา ตัวชี้วัด มาตรฐาน แผนการสอน รวมทั้งความก้าวหน้าและความพร้อมของนักเรียน เพื่อการกำหนดเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาว ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

2

Plan

กลุ่มครูหรือนักการศึกษาได้วางแผนหน่วยการเรียนรู้ แผนการสอนร่วมกัน และคาดการณ์สิ่งที่นักเรียนจะได้เรียนรู้จากแผนการสอน คาดการณ์คำตอบและความเข้าใจของนักเรียน ออกแบบชิ้นงาน และออกแบบการเก็บข้อมูลจากชิ้นงาน

2

Plan

กลุ่มครูหรือนักการศึกษาได้วางแผนหน่วยการเรียนรู้ แผนการสอนร่วมกัน และคาดการณ์สิ่งที่นักเรียนจะได้เรียนรู้จากแผนการสอน คาดการณ์คำตอบและความเข้าใจของนักเรียน ออกแบบชิ้นงาน และออกแบบการเก็บข้อมูลจากชิ้นงาน

3

Teach the Lesson / Conduct Class Observation

กระบวนการนำแผนการสอนที่เตรียมมามาสู่การปฏิบัติในห้องเรียนจริง โดยดำเนินการสอนตามแผน และมีทีมร่วมกันสังเกตและเก็บข้อมูลจากการเรียนการสอน และการเรียนรู้ของนักเรียนตามบริบทจริง

4

Reflect

การสะท้อนข้อมูลที่ได้จากการสังเกตชั้นเรียน โดยตอบ 4 คำถามหลักคือ
Q1. นักเรียนมีการเรียนรู้ในชั่วโมงเรียนอย่างไร
Q2. ผลในการเรียนรู้จากการเรียนในเรื่อง/หน่วยนี้ ที่จะถูกส่งต่อไปในการเรียนรู้ในครั้งต่อไป
Q3. สิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน ที่ต้องการนำไปปฏิบัติต่อไป
Q4. ผู้พัฒนาแผนจะปรับแผนการสอนหรือการให้ชิ้นงานที่มอบหมายให้กับนักเรียนอย่างไร

4

Reflect

การสะท้อนข้อมูลที่ได้จากการสังเกตชั้นเรียน โดยตอบ 4 คำถามหลักคือ
Q1. นักเรียนมีการเรียนรู้ในชั่วโมงเรียนอย่างไร
Q2. ผลในการเรียนรู้จากการเรียนในเรื่อง/หน่วยนี้ ที่จะถูกส่งต่อไปในการเรียนรู้ในครั้งต่อไป
Q3. สิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน ที่ต้องการนำไปปฏิบัติต่อไป
Q4. ผู้พัฒนาแผนจะปรับแผนการสอนหรือการให้ชิ้นงานที่มอบหมายให้กับนักเรียนอย่างไร

5

Revise

การพัฒนาปรับปรุงการสอนและชิ้นงาน ตามแนวทางที่ได้ศึกษาร่วมกันของกลุ่มสังเกต ชั้นเรียน