Thailand School Improvement Program (TSIP)

โครงการยกระดับคุณภาพวิชาการโรงเรียน

โครงการยกระดับคุณภาพวิชาการโรงเรียน หรือ TSIP เกิดขึ้นจากความร่วมมือของโครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต ระยะที่ 2 ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

จุดมุ่งหมาย

นำร่องการยกระดับคุณภาพด้านการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ผ่านการวิเคราะห์และการใช้ข้อมูลของผู้เรียน เพื่อออกแบบโปรแกรมพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียนให้สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

สร้างการเปลี่ยนแปลงในการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

สร้างเครือข่ายและความร่วมมือทางวิชาการในระดับท้องถิ่นระหว่างมหาวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และภาคเอกชนในพื้นที่

พันธมิตรในการพัฒนา

TSIP มุ่งยกระดับคุณภาพด้านการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา และร่วมสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาคีหลักในโครงการ ได้แก่

ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอ

ในฐานะผู้บริหารโครงการเชฟรอนสนุกวิทย์ฯ

  • จัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
  • ร่วมพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู ด้วยการใช้สะเต็มศึกษา และส่งเสริมให้ผู้นำสถานศึกษาพัฒนาคุณภาพโรงเรียนโดยใช้สะเต็มศึกษาเป็นฐาน เพื่อสร้างนักเรียนที่มีความรู้ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ที่ประเทศไทยและนานาชาติต้องการ

บริษัท เอดูพาร์ค จำกัด

  • จัดหาคลังแบบทดสอบเพื่อสนับสนุนการประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียนให้กับสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
  • จัดทำรายงานการประเมินผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เพื่อสนับสนุนโครงการ

บริษัท วิสดอมไวด์ จำกัด

  • ร่วมจัดทำแพลตฟอร์มออนไลน์และระบบดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม PLC
  • จัดหาช่องทางในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพด้วยกระบวนการ PLCให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

  • นำร่องโครงการการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา (TSIP)
  • กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ PLC

การดำเนินโครงการ

แนะนำโครงการ และอบรมพัฒนาวิชาชีพครู ผ่าน Webinar

จัดการการเรียนรู้แนวทางการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านระบบ Trainflix

กำกับ ติดตาม และสนับสนุนสถานศึกษาในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัย

ถอดบทเรียนและประเมินผลการจัดกิจกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายและสถานศึกษา

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เครือข่ายสถานศึกษา

เครือข่ายสถานศึกษามีแนวทางในการบริหารงานวิชาการที่ชัดเจนและมีเป้าหมาย และนำแนวปฏิบัติที่ส่งผลดีต่อคุณภาพการเรียนรู้ไปใช้พัฒนาการสอนอย่างต่อเนื่อง

นักเรียน

นักเรียนมีทัศนคติที่ดี มีความรู้และทักษะที่เพียงพอต่อการศึกษาต่อและการทำงาน

ขอบเขตและขั้นตอนการติดตาม
และประเมินผลโครงการ

วัดคะแนนความก้าวหน้าด้านความรู้และพฤติกรรมเชิงบวกของผู้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบทดสอบโครงการประเมินและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (TEDET) เป็นเครื่องมือในการวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ทั้งก่อนและหลังเรียน รวมถึงวัดเจตคติด้านพฤติกรรมเชิงบวก เพื่อศึกษา รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนในสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ